เมนู

อรรถกถาโมคคัลลานสูตร


โมคคัลลานสูตรที่ 4.

ผู้ฟุ้งเป็นปกติ คือผู้มีจิตหวั่นไหว ชื่อว่าเป็น
ผู้ฟุ้งซ่าน. จริงอยู่ จิตย่อมหวั่นไหวในอารมณ์อย่างหนึ่งด้วยอุทธัจจะเหมือน
ชายธงถูกลมพัดฉะนั้น. คำว่า อวดตัว คือลำพอง. มีคำอธิบายว่า มักถือ
ตัวอันหาสารมิได้. คำว่า มีจิตกวัดแกว่ง คือประกอบด้วยความกวัดแกว่งใน
บาตรจีวรและเครื่องประดับเป็นต้น. คำว่า ปากกล้า คือปากจัด มีคำอธิบายว่า
มีคำพูดกล้าแข็ง. คำว่า พูดจาอื้อฉาว คือไม่ยั้งปากคอ ได้แก่พูดตลอดวัน
บ้าง พูดคำที่ไร้ประโยชน์บ้าง. คำว่า ลืมสติ คือลืมความระลึกได้. คำว่า
ไม่มีสัมปชัญญะ คือ เว้นจากปัญญา. คำว่า มีจิตไม่ตั้งมั่น คือเว้นจาก
อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ. คำว่า วิพฺภนฺตจิตฺตา คือมีจิตหมุนผิดด้วย
ความฟุ้งซ่านที่ได้โอกาสเพราะเว้นจากสมาธิ. คำว่า ปากตินฺทฺริยา คือ ไม่
สำรวมอินทรีย์. คำว่า แสดงฤทธิ์ คือเข้าอาโปกสิณออกแล้ว อธิษฐานส่วน
แห่งแผ่นดินที่ตั้งปราสาทว่าจงเป็นน้ำ เหาะขึ้นฟ้าซึ่งมีปราสาทตั้งอยู่บนหลังน้ำ
แล้วเอานิ้วฟาดลงไป. คำว่า มีรากลึก คือหลุมลึก. หมายความว่า ฝังเข้าไป
สู่ส่วนแผ่นดินที่ลึก. คำว่า ฝังไว้ดีแล้ว คือที่ฝังมิดลงไปอย่างดี คือตอกเข็ม
ตั้งไว้อย่างดี. ในสูตรนี้ ทรงแสดงฤทธิ์ที่มีอภิญญาเป็นบาท.
จบอรรถกถาโมคคัลลานสูตรที่ 4

5. พราหมณสูตร



ว่าด้วยปฏิปทาเพื่อละฉันทะ



[1162] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี
ครั้งนั้น อุณณาภพราหมณ์เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับ
ท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า
[1163] ดูก่อนท่านอานนท์ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณ
โคดมเพื่อประโยชน์อะไร ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ เรา
ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อละฉันทะ.
[1164] อุณ. ดูก่อนท่านอานนท์ ก็มรรคา ปฏิปทา เพื่อละฉันทะ
นั้น มีอยู่หรือ.
อา. มีอยู่ พราหมณ์.
[1165] อุณ. ดูก่อนท่านอานนท์ ก็บรรดาเป็นไฉน ปฏิปทา
เป็นไฉน.
อ. ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อัน
ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วย
วิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร นี้แลเป็นมรรคา
เป็นปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้น.